กิจวัตรยามเช้าที่เราแนะนำ เพื่อวันสุด Productivity!

เมื่อชีวิตก้าวเข้าสู่วัยทำงาน นี่อาจเป็นวัยแรก ๆ หลังจากเรียนจบที่เราได้รีดประสิทธิภาพของตัวเองที่มีทั้งหมดนั้นออกมาใช้จริง ๆ จนเมื่อผ่านไประยะเวลานึงคุณอาจจะเหนื่อย เบื่อ หรือท้อ จนไม่อยากจะทำงานนั้น ๆ ต่อไป หากฝืนใจมาก ๆ เข้า คุณอาจจะมีอาการที่เรียกว่า Burn Out ซึ่งอาการนี้เองเกิดจากการที่คุณทำสิ่งที่คุณไม่ได้อยากจะทำจริง ๆ นานและสะสมแบบไม่เคยหยุดพัก หรือทำอย่างอื่นเลย ก่อนจะไปถึงวันนั้น เรามีวิธีดี ๆ ที่จะเปลี่ยนความคิด ปรับชีวิตให้ท็อปฟอร์มอีกครั้ง กับสิ่งง่าย ๆ ที่คุณควรทำในยามเช้า!

1.ค่อย ๆ ปรับเวลานอนให้เร็วขึ้น สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการทำงานอย่างหนัก อาจจะทำกันจนลืมเวลาไปจนถึงดึกดื่น ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ดีที่คุณรักงาน แต่พอทำบ่อย ๆ เข้า ร่างกายคุณจะพังเอาได้ พยายามหยุดทำงานก่อนเวลานอนสักสามถึงสี่ชั่วโมง และหลับให้สนิทก่อนเวลา ห้าทุ่ม เพราะในเวลานี้ ร่างกายคุณจะเริ่มเข้าสู่รอบการหลับลึก ยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะร่างกายและสมองคุณจะได้พักผ่อนจริง ๆ

2.ลองตื่นเช้าขึ้นกว่าเดิมสัก 30 นาที และดื่มน้ำเปล่าสักแก้ว หรือ หากเป็นไปได้ คือหนึ่งลิตร เพราะเมื่อเวลาเราหลับ ร่างกายเองก็สูญเสียน้ำ แม้เหงื่อจะไม่ออก แต่ใครที่นอนในห้องแอร์ ร่างกายจะสูญเสียน้ำออกไปเพื่อรักษาอุณหภูมิและระบบการทำงานต่าง ๆ ให้เราหลับได้อย่างสนิท เราจึงควรชดเชยสิ่งนี้ด้วยการดื่มน้ำเปล่าตั้งแต่ตื่นนอน

3.เดิน หรือ วิ่งสัก 30 นาที การออกกำลังกายเป็นเพื่อนคู่ใจที่ดีที่สุดพอ ๆ กับการนอน และ การเลือกรับประทานอาหาร เพื่อร่างกายเราจะตื่นตัวและค่อย ๆ มีแรงทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น เมื่อคุณแข็งแรงขึ้นไปด้วย เราจึงควรออกกำลังกายในทุกเช้า ไม่ต้องหนักหน่วงมาก แต่ก็ควรทำบ้างอย่างน้อย ๆ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง

  1. นั่งสมาธิสัก 10-15 นาที การนั่งสมาธิเป็นการหยุดเวลาภายนอกเพื่อให้คุณได้อยู่กับตัวเองบ้าง ไม่ต้องคิดเรื่องอะไรนอกจากการโฟกัสอยู่กับลมหายใจ เพื่อทำให้สมองของคุณปรอดโปร่ง และ มีสติในการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันนั้น ๆ ได้อย่างเฉียบคมมากขึ้น

5.จัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ เชื่อเลยว่าใครที่งานยุ่ง ๆ หรือทำหลาย ๆ อย่าง ไม่เคยได้ทำข้อนี้เลย แต่เราอยากให้คุณลองดู แยกออกมาให้ชัด ว่าเรื่องไหนสำคัญ เรื่องไหนเร่งด่วน หรือเรื่องไหนจริง ๆ แล้วไม่ได้จำเป็นจะต้องทำ เพียงเท่านี้ ในหนึ่งวันคุณก็จะบริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ เหนื่อยน้อยลงไปในตัวอีกด้วย

Comments (No)

Leave a Reply